top of page

ถอดบทเรียน 15 ประการกับประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’


ถอดบทเรียน 15 ประการกับประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’
ถอดบทเรียน 15 ประการกับประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’

อ้างอิงจาก The Standard วันที่ 8 ตุลาคม 2564

โดยอาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน) บริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชั่น (ABS)


หลักการของการประกันภัย คือ การชดเชยความสูญเสียทางด้านการเงิน (Financial Loss) ให้กับผู้ที่ซื้อประกัน


หลักการประกันภัยอีกข้อคือ ผู้ซื้อกรมธรรม์ไม่สามารถคาดหวังกำไรจากการซื้อประกันได้ หมายความว่า ถ้าเกิดเหตุร้ายขึ้นมา ความเสียหาย 1 แสนบาท แต่ถ้าได้เงินคืน 3 แสนบาท ก็หมายถึงจะได้กำไร 2 แสน ซึ่งถ้ามีกรมธรรม์แบบนี้จะทำให้ขัดต่อหลักการของการประกันภัย


แม้แต่ความคุ้มครองชดเชยรายวัน ทางฝ่ายพิจารณาการรับประกันภัยก็ต้องดูรายได้ของคนที่มาซื้อประกันประกอบไปด้วย ไม่ใช่ว่ารายได้วันละ 300 บาท แต่เวลานอนโรงพยาบาลชดเชยรายวันได้วันละ 1,500 บาท ซึ่งก็จะขัดกับหลักการประกันตามที่กล่าวมาในข้อ 1 และ 2


ถอดบทเรียน 15 ประการกับประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’
ถอดบทเรียน 15 ประการกับประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’

ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ ‘ทุนประกันภัย’ (Sum Assured) มีค่ามากกว่า ‘ความสูญเสียทางด้านการเงิน’ (Financial Loss) แล้ว เมื่อนั้นก็จะเกิดแรงจูงใจที่แปรผันโดยตรงกับการนำตัวเองไปเสี่ยงภัย ทำให้ผิดเจตนาของการรับประกันภัยไป


แบบประกันที่ออกมาทุกชนิด ทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ข้อ 4 ให้ได้ ซึ่งแม้แต่ประกัน เจอ จ่าย จบ ก็น่าจะถูกออกแบบมาให้เป็นเช่นนี้เหมือนกัน


สำหรับ เจอ จ่าย จบ ใครที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว แปลว่าความสูญเสียทางด้านการเงินที่ว่านี้จะน้อยลงไปมาก เพราะส่วนใหญ่จะติดแบบไม่แสดงอาการ


เป็นเรื่องปกติของโรคระบาดที่ไวรัสจะกลายพันธุ์ และเมื่อกลายพันธุ์แล้วอาจจะมีโอกาสติดเชื้อกันง่ายขึ้น (บทความ ‘บทเรียน 100 ปี จากโรคระบาด’ ที่เคยเขียนในเดือนมีนาคม 2563) โดยเฉพาะถ้าติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ ก็จะแปลว่า ความสูญเสียทางด้านการเงินนั้นแทบจะไม่มีเลยเช่นกัน


จนถึงตอนนี้ อัตราของคนที่ติดโควิดแบบสถานะ ‘สีเขียว’ นั้น มีมากกว่า 80% ซึ่งบางคนในกลุ่ม ‘สีเขียว’ นี้อาจจะไม่แสดงอาการ หรืออาจจะยังพอทำงานได้อยู่ ซึ่งความสูญเสียทางด้านการเงินนั้นจะมีไม่มากนัก


ถ้าความสูญเสียทางด้านการเงินจากการที่เกิดภัยร้ายกับตัวเอง มีน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย ก็แปลว่าสินค้าประกันภัย เจอ จ่าย จบ อาจจะไม่เข้าหลักการประกันภัยอีกต่อไป (กลับไปที่ข้อ 1 และ 2)


สมการของแรงจูงใจในการเจาะจงไปติดโควิด คือ [เงินที่จะได้รับจากบริษัทประกัน – ความเสียหายที่จะได้รับถ้าติดโควิด] x สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งก็แปลว่า ถ้าความเสียหายจากการติดโควิดน้อยลง (เช่น ติดโควิดไปส่วนน้อยเท่านั้นที่จะเป็นอันตรายร้ายแรง) ผนวกกับไม่มีอันจะกินเลย ทำให้เกิดแรงจูงใจให้พฤติกรรมไปทางนี้ เพราะจะทำให้คนคิดว่า ‘ติดโควิดดีกว่าอดตาย’

ถอดบทเรียน 15 ประการกับประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’
ถอดบทเรียน 15 ประการกับประกัน ‘เจอ จ่าย จบ’

ประกัน เจอ จ่าย จบ เป็นเรื่องที่ดี แต่ ‘สมการแรงจูงใจไปติดโควิด’ ตามข้อ 10 จะมีมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้หลายคนขาดรายได้


ประกัน เจอ จ่าย จบ ส่วนใหญ่จะมีค่าชดเชยรายวันไปด้วย ซึ่งสถานการณ์โควิดทำให้คนตกงานไปเป็นจำนวนมาก ถ้าเราย้อนกลับไปที่ข้อ 3 เรื่องค่าชดเชยรายวัน ก็จะเห็นว่ามันยิ่งทำให้ ‘สมการแรงจูงใจไปติดโควิด’ นั้นเด่นชัดขึ้น


มาตรการผ่อนปรนให้เคลมได้ง่ายขึ้น เช่น การนอน Hospitel 14 วัน สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือการเอาแค่ผล Lab โควิดโดยที่ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดีและมีเจตนาดีต่อผู้บริโภค แต่ในมุมกลับกัน ก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทุจริตเคลมสำหรับคนบางกลุ่มได้มากขึ้นเช่นกัน


การกำหนดระยะเวลาในการจ่ายเงินสินไหม 15 วันเป็นเรื่องที่ดีมาก และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในธุรกิจประกันภัยมากยิ่งขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ส่งผลให้บริษัทประกันที่มีระบบหรือบุคลากรไม่พอไปตรวจสอบเอกสารได้ทัน ทำให้คาดการณ์การมีทุจริตการเคลมปนเข้ามาเยอะมากกว่าสถานการณ์ปกติไปหลายเท่าตัว โดยอ้างอิงจาก ‘สมการแรงจูงใจไปติดโควิด’ เป็นต้น


ประกันก็คือกระดาษที่ใส่เงื่อนไขบวกกับความน่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าจ่ายเคลมให้ตามเงื่อนไขไม่ได้ ก็จะทำให้ความน่าเชื่อถือ นั้นหมดไป กรมธรรม์ประกันก็จะกลายเป็นเพียงกระดาษธรรมดาไป แต่ตัวแบบประกันภัยต้องเกิดประโยชน์และต้องไม่จูงใจให้ผู้บริโภคไปเสี่ยงภัย อีกทั้งต้องป้องกันการขบวนการทุจริตเคลมประกันภัย เพราะการทุจริตเคลมแต่ละครั้งจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคทางอ้อมโดยไม่รู้ตัว เพราะหลักการประกันคือการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ที่มีตัวกลางคือบริษัทประกันคอยจัดการบริหารความเสี่ยง

สมการของแรงจูงใจในการเจาะจงไปติดโควิด คือ [เงินที่จะได้รับจากบริษัทประกัน – ความเสียหายที่จะได้รับถ้าติดโควิด] x สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งก็แปลว่า ถ้าความเสียหายจากการติดโควิดน้อยลง (เช่น ติดโควิดไปส่วนน้อยเท่านั้นที่จะเป็นอันตรายร้ายแรง) ผนวกกับไม่มีอันจะกินเลย ทำให้เกิดแรงจูงใจให้พฤติกรรมไปทางนี้ เพราะจะทำให้คนคิดว่า ‘ติดโควิดดีกว่าอดตาย’... ถ้าความสูญเสียทางด้านการเงินจากการที่เกิดภัยร้ายกับตัวเอง มีน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย ก็แปลว่าสินค้าประกันภัย เจอ จ่าย จบ อาจจะไม่เข้าหลักการประกันภัยอีกต่อไป

อ้างอิงจาก

คอลัมน์ : สวัสดีแอคชัวรี ฉบับที่ 62 ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2564

 

เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ) FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons) ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น

Kommentare


bottom of page