top of page

ธุรกิจประกันภัย 2019


ธุรกิจประกันภัย 2019
ธุรกิจประกันภัย 2019

โดย พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี) FSA, FIA, FSAT, FRM – นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย


1. การเปลี่ยนไปของธุรกิจประกันภัย

ธุรกิจประกันภัย 2019
ธุรกิจประกันภัย 2019

ในแง่ของการบริหารการจัดการองค์กร [ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุค digital มากขึ้น โดยองค์กรต่างๆ เริ่มมองหา บุคคลากรรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ Digital เป็นพื้นฐานเข้ามาในองค์กรด้วย และการทำงานต้องไม่เป็น Silo (ต่างคนต่างทำ) อีกต่อไป ทุกวันนี้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไวมาก เหมือน google map ที่บอกว่า รถติดตอนไหนในเวลานี้ แต่ถ้าเรามัวแต่ไปจำภาพนั้น เวลาเราขับรถไปจริง สภาพการจราจรมันเปลี่ยนไปตลอดเวลา เรามามัวแต่จำภาพตอนที่เราเปิด google map ครั้งแรกนั้นไม่ได้ผล นี่เป็นเพียงตัวอย่างอุปมาอุปมัยให้เห็นภาพ ดังนั้น ในการสื่อสารวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ก็ต้องสื่อสารให้คมชัดมากขึ้น และทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน แต่พร้อมจะรับเรื่องของการเปลี่ยน (change) ได้ทุกเมื่อ เช่นกัน]


การเปลี่ยนไปของ ธุรกิจประกันภัยในแต่ละ สาขาหรือประเภทประกันภัย ที่โยงไปถึงความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัย

[ต้องมองถึงผู้บริโภคเป็นหลักมากขึ้น มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของฐานข้อมูลที่บริษัทในตอนนี้มีมากขึ้น และสามารถเล่นเรื่อง big data ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อก่อน เราออกแบบประกันมาเป็นแบบกลางๆ เพื่อให้ฝ่ายขายได้ขาย แต่เดี๋ยวนี้เราออกแบบประกันเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สำหรับ ผู้หญิงสูงอายุ สำหรับครอบครัว สำหรับแม่บ้าน หรือ สำหรับการศึกษาเป็นต้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ยูนิตลิงค์ เป็นต้น]


การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจประกันชีวิตทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการขาย และความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคน [ในไตรมาส 3 นี้ จะเข้าสู่ RBC 2 ซึ่งรูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนไป และหนึ่งในสิ่งที่เราจะเห็นก็คือ ยูนิตลิงค์ ที่ถ้าทำความเข้าใจได้ถูกต้อง มันจะมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งกับผู้บริโภค และ กับตัว ธุรกิจประกันเอง เรียกว่า ยูนิตลิงค์ จะตอบโจทย์ทุกมุม ในยุคของ RBC 2 ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกับช่องทางการขาย นั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นกับเรื่องของการนำ digital transformation มาใช้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น InsurTech หรือการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาประยุกต์กับการสื่อสาร หรือเครื่องมือการขาย ซึ่งเจาะจงเข้าถึงตัวปัจเจคบุคคลได้มากขึ้น ผมเชื่อว่า ยิ่งธุรกิจประกันให้ความรู้กับผู้บริโภคมากเท่าไร ผู้บริโภคจะมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของความคุ้มครองมากเท่านั้น และวิ่งเข้าหาเพื่อซื้อความคุ้มครอง เหมือนดังประเทศสิงคโปร์ที่ประชาชนมีพื้นฐานความรู้เรื่องการประกันภัยเป็นอย่างดี ประเทศไทยก็เริ่มมีทิศทางไปทางนั้นเช่นกัน ถ้าทุกคนในภาคธุรกิจช่วยกันทีละน้อย]


2. การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่มุ่งหน้าไปสู่ความเป็นสากล

ธุรกิจประกันภัย 2019
ธุรกิจประกันภัย 2019

ทั้งรูปแบบธุรกิจและความเข้มข้นในการการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจประกันภัยยุคใหม่ จะส่งผลให้จำนวนบริษัท

ประกันภัยเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร [บริษัทประกันภัยเป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจประกันภัยที่ดีนั้น จะทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ และส่งผลบวกทางอ้อมให้กับภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา ข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลต่างๆ ก็มีเข้มข้นขึ้น ธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย จึงมีทิศทางที่ต้องปรับตัวเข้าสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้นตาม บริษัทประกันภัยจึงหันมาเน้นเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงมากขึ้น อย่างจะเห็นเรื่องของการที่บริษัทประกันภัยต่างๆ เริ่มมีแผนกจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เช่น ERM เป็นต้น หรือการจัดอบรมต่างๆ เกี่ยวกับ ORSA หรือสิ่งที่เราเห็นเมื่อต้นปีนี้ก็คือ เรื่องที่ FSAP จากธนาคารโลกมาตรวจสอบ การกำกับดูแลของภาคธุรกิจประกันภัย ซึ่งผลลัพธ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี เป็นต้น


3. ธุรกิจประกันภัยในมุมที่เกี่ยวข้องกับประชากรศาสตร์

ธุรกิจประกันภัย 2019
ธุรกิจประกันภัย 2019

ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในอนาคตนั้น บทบาทของผู้กำกับดูแล รวมถึงภาคธุรกิจต้องรับมืออย่างไร ขณะเดียวกันควรจะมีองค์กรใด หรือองค์กรลักษณะใด เข้ามาช่วยเตรียมการช่วยเหลือ [อีก 15 ปีข้างหน้า ประชากรไทย 1 ใน 4 จะมีอายุสูงกว่า 60 ปีกันหมด สังคมไทยเราจะกลายเป็นสังคมของผู้สูงอายุ จะเห็นว่าหลายๆ ประเภทธุรกิจ เริ่มมีผลิตภัณฑ์เพื่อมารองรับกลุ่มตลาดของผู้สูงอายุกันแล้ว ในภาคธุรกิจประกันภัยเอง ก็เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนเพื่อการเกษียณ และการวางแผนค่ารักษาพยาบาลหลังการเกษียณ ซึ่งต้องไม่ลืมว่า คนเราจะมีช่วงชีวิตที่หลังอายุเกษียณที่ยาวนานขึ้น และสิ่งที่ตามมาก็คือ การวางแผนการเงินที่ไม่เพียงพอ จากการศึกษาวิจัยที่ทางสมาคมฯ ได้ไปช่วยหน่วยงานต่างๆ จะเห็นว่า การเลื่อนอายุเกษียณออกไปให้นานขึ้น จะมีส่วนช่วยให้การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณได้ดีขึ้น ในอนาคต อาจจะเห็นแบบประกันสำหรับคนที่ต้องการเกษียณที่อายุ 65 หรือ 70 ปี ส่วนในด้านประกันบำนาญนั้น ยังมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่ยังทำให้เบี้ยประกันภัยนั้นมีต้นทุนที่สูงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประมวลรัษฎากรด้านภาษี ที่ไม่เอื้อกับประกันบำนาญ หรือกฎเกณ์ในการออกแบบประกัน ที่ต้องมีการการันตีเงินทั้งหมด เวลาที่ผู้เอาประกันตายหลังเกษียณอายุด้วย (จึงทำให้ ต้นทุนของแบบประกัน ในช่วงหลังเกษียณอายุ ไม่สามารถให้ผลประโยชน์บำนาญ ได้เต็มที่ เพราะต้องแบ่งเงินก้อนหนึ่งไปให้เป็นผลประโยชน์การเสียชีวิต หลังการเกษียณ) โดยที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ก็ได้ยิน หน่วยงานอื่นออกมาเรียกร้องในการออกแบบประกันที่เป็นบำนาญมากขึ้น โดยข้อให้ยกเว้นกฎเกณฑ์ในการจ่ายผลประโยชน์จากการเสียชีวิตหลังการเกษียณออกไป (เพื่อให้เบี้ยประกันถูกลง และจ่ายผลประโยชน์ของบำนาญอย่างเดียว) เช่น หน่วยงาน กบข. ที่เข้าใจถึงโครงสร้างของประกันบำนาญ เป็นอย่างดีเป็นต้น ส่วนเรื่ององค์กรใด ที่เข้ามาช่วยเหลือได้นั้น คงจะเป็นเรื่องของการทำงานระหว่างภาคธุรกิจกับสวัสดิการของภาครัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนออมแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม หรือ กองทุนอื่นๆ อีก 3 กองทุน (รวมทั้งหมด 5 กองทุน) ที่คอยเป็นสวัสดิการให้กับประชาชนทั่วไป ให้เข้าถึงการเตรียมตัวที่ดีสู่การเกษียณ


4. บทบาทของสำนักงานคปภ.

ธุรกิจประกันภัย 2019
ธุรกิจประกันภัย 2019

ที่ต้องทำหน้าที่ทั้งด้านการควบคุมและส่งเสริม แล้วเป็นหน้าที่ที่ต้องเดินไปพร้อมๆกัน บทบาทอย่างนี้จะเกิดอะไรขึ้น

บ้างกับองค์กรธุรกิจประกันภัยที่มีความแตกต่างกันของขนาดบริษัทและความแข็งแกร่งทางการเงิน และส่งผลด้านใดต่อประชาชน


5. ท่านกำลังมองการเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง

ธุรกิจประกันภัย 2019
ธุรกิจประกันภัย 2019

ที่กำลังจะเกิดกับธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย และเมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นแล้ว บริษัทประกัน ควรเตรียมรับมืออย่างไร แล้วการเตรียมการรับมือที่ว่านั้น สามารถช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับองค์กรอย่างไรบ้าง [ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์และวิธีของการขาย ยูนิตลิงค์ ในธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย นั้นอาจจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่ ทั้งกับตัวภาคธุรกิจเอง และกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทประกันภัยควรเตรียมตัวรับมือ ออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ให้ถูกต้อง และสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น ให้กับผลิตภัณฑ์นี้ เพราะในต่างประเทศก็ได้ถูกขับเคลื่อนไปในแนวทางนี้ ด้วยกรอบของการบริหารความเสี่ยงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ RBC 2 ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ IFRS17 ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณเงินสำรอง วิธีการรายงานผลในงบการเงิน และคำว่า ยอดขายที่เป็นเบี้ยประกันภัย จะไม่มีอีกต่อไป แต่จะมีคำว่า ค่าดำเนินการ (fee) มาใช้แทน ซึ่งแน่นอนว่า fee ค่าดำเนินการ จะมีค่าน้อยกว่า Premium เบี้ยประกันภัย แน่นอน แต่ไม่ต้องตกใจไปกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพราะผลประกอบการที่เป็น ผลกำไร (profit) นั้น จะไม่ได้มีผลกระทบอะไรมาก อาจจะมีแค่คำว่ากำไรเร็วหรือกำไรช้าลง เท่านั้นเอง]


6.ภายใต้การ ของธุรกิจประกันภัยที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจประกันภัย 2019
ธุรกิจประกันภัย 2019

ประชาชนจะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร [เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยให้มากขึ้น เพราะการประกันภัย เป็นการบริหารความเสี่ยงในระดับครัวเรือนและประชาชนไม่ควรมองข้ามการบริหารความเสี่ยงนั้นและจะซื้อผลิตภัณฑ์ ประกันภัยในแต่ละครั้ง ควรหาข้อมูลจากทุกแหล่ง หรือเปรียบเทียบในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพบริหาร ความมั่นคงของบริษัท (ดูจาก RBC ที่เรียกว่า CAR ratio ซึ่งจะมีประกาศในเวปไซด์ของแต่ละบริษัทอยู่แล้ว แต่ต้องศึกษาวิธีอ่านค่านี้เพิ่มเติม) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ทำความเข้าใจ (และเปิดใจ) ถึงประโยชน์ของแบบประกันยูนิตลิงค์ ซึ่งจะเห็นว่าดีกว่าแบบประกันแบบดั้งเดิม (traditional product) จริงๆ


อ้างอิงจาก

คอลัมน์ : สวัสดีแอคชัวรี ฉบับที่ 53 ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2562


 

เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)


ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น

bottom of page